ลีสซิ่ง (Leasing) กับ เช่าซื้อ (Hire Purchase)
ต่างกันอย่างไร แบบไหนคุ้มกว่ากัน?


รู้จักกับลีสซิ่ง (Leasing) และเช่าซื้อ (Hire Purchase)

ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของสถานะทางการเงินส่งผลให้ธุรกิจมีความเสี่ยงในการถือครองทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อาคาร เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ องค์กรหลายแห่งจึงมีแนวโน้มต้องการทรัพย์สินที่ปลอดภาระเพื่อความเป็นอิสระมากขึ้น จึงเลือกที่จะ “เช่าทรัพย์สินมากกว่าซื้อ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การเช่ารถยนต์” ที่กำลังเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน

ในวันนี้ SMAT จะพาไปทำความรู้จักกับลีสซิ่ง (Leasing) และ เช่าซื้อ (Hire Purchase) ว่าคืออะไร? และมีความแตกต่างกันอย่างไร?


ลีสซิ่ง (Leasing) คืออะไร ?

ลีสซิ่ง (Leasing) คือ การทำสัญญาเช่าทรัพย์สินระหว่างผู้ให้เช่า (Lessor) กับ ผู้เช่า (Lessee) โดยส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล โดยผู้เช่าต้องจ่ายค่าเช่าในอัตราที่กำหนดจนครบสัญญา

ลีสซิ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ซึ่งจะแตกต่างกันเมื่อสิ้นสุดสัญญา

  1. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Leasing) : หลังจบสัญญาลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะส่งคืนทรัพย์สิน ต่อสัญญา หรือซื้อทรัพย์สินกลับในราคาตลาด ณ ตอนสิ้นสุดสัญญา
  2. สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Leasing) : หลังจบสัญญาลูกค้าจะสามารถซื้อทรัพย์สินกลับ โดยใช้ราคาตามที่กำหนดไว้ตั้งแต่วันแรกของการเริ่มสัญญา

เช่าซื้อ (Hire Purchase) คืออะไร ?

เช่าซื้อ (Hire Purchase) คือ การเช่าซื้อทรัพย์สิน โดยเมื่อจบสัญญา กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที และในระหว่างสัญญาผู้เช่าซื้อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนของค่าเช่า ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และอื่น ๆ เป็นต้น โดยสัญญาเช่าซื้อจะสามารถทำได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล


เปรียบเทียบ ลีสซิ่งรถยนต์ (Car Leasing) กับเช่าซื้อรถยนต์ (Car Hire Purchase)

เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของลีสซิ่งและเช่าซื้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราได้จัดทำตารางเปรียบเทียบในแต่ละหัวข้อ เพื่อพิจารณาสัญญาทั้งสองรูปแบบนี้ ว่าแตกต่างกันอย่างไรในรายละเอียด และสัญญาประเภทใดตอบโจทย์ธุรกิจของคุณมากที่สุด


ในมุมขององค์กร เมื่อเปรียบเทียบระหว่างลีสซิ่งกับเช่าซื้อ เราจะพบว่าลีสซิ่งมีข้อได้เปรียบที่โดดเด่น โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์ทางภาษี เราจึงแนะนำให้องค์กรที่ใช้รถยนต์ในกิจการ หันมาใช้ลีสซิ่งมากขึ้น


ลีสซิ่งช่วยประหยัดภาษี ลดภาระทางการเงิน กระแสเงินสดดีขึ้น

ค่าเช่าของลีสซิ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 36,000 บาทต่อเดือน ต่อรถ 1 คัน:
ใน 1 ปี บริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ถึง 36,000 X 12 = 432,000 บาทต่อปี (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ตัวอย่าง
ค่าเช่าต่อเดือน 30,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ค่าเช่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม = 32,100 บาท
หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 32,100 X 12 เดือน = 385,200 บาทต่อปี
ดังนั้น องค์กรจะประหยัดภาษีได้ถึง 385,200 X 20% = 77,040 บาทต่อปี
(อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล = 20%)


สรุป

การลีสซิ่งรถยนต์องค์กร ถือเป็นหนึ่งวิธีการที่ช่วยองค์กรลดค่าใช้จ่าย และจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการลีสซิ่งรถยนต์ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางภาษี ลดภาระค่าเสื่อมราคา และลดต้นทุนในการบริหารจัดการรถยนต์ส่วนอื่น ๆ อีกด้วย


SMAT เป็น One Stop Service for Corporate Car Leasing ที่ให้บริการครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่การลีสซิ่งรถยนต์ การดูแลซ่อมบำรุง ไปจนถึงระบบบริหารจัดการรถยนต์ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “อันดับหนึ่ง” ในใจลูกค้า สำหรับผู้ให้บริการลีสซิ่งรถยนต์ และธุรกิจบริการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน

SMAT - Lease with us

Sumitomo Mitsui Auto Leasing & Service (Thailand) Co., Ltd
Tel : 0-2252-9511

อ่านบทความเกี่ยวกับการเช่ารถยนต์เพิ่มเติม :